รู้หรือไม่! ผงไมโลชอบเกาะเป็นก้อน ป้องกันได้ ด้วย ซิลิก้าเจล รู้หรือไม่! ผงไมโลชอบเกาะเป็นก้อน ป้องกันได้ ด้วย ซิลิก้าเจล รู้หรือไม่! ผงไมโลชอบเกาะเป็นก้อน ป้องกันได้ ด้วย ซิลิก้าเจล

รู้หรือไม่! ผงไมโลชอบเกาะเป็นก้อน ป้องกันได้ ด้วย ซิลิก้าเจล

by Kate Kate on November 07, 2020

สารกันชื้น ซิลิกาเจล สารดูดความชื้น หรือสารกันความชื้น เราต่างมีชื่อเรียกกันอย่างหลากหลาย แต่สารก้นความชื้นนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Desiccant และ Oxygen Absorber หรือสารดูดซับออกซิเจน โดยสารกันชื้น ทำหน้าที่ช่วยดูดและกักเก็บน้ำจากอาหาร และควบคุมความชื้นในห่ออาหาร ให้อยู่ในระดับที่จุลินทรีย์เจริญเติบโตได้น้อย หรือไม่สามารถเติบโตได้เลย จึงทำให้อาหารไม่เน่าเสียเหม็นหืน และขึ้นราช้าลง มีผลทำให้อาหารสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานยิ่งขึ้น หรือหมดอายุช้าลง และคงคุณภาพของอาหารให้มีความกรอบ สดใหม่ของอาหารได้

สารกันชื้นเหล่านี้ ผลิตขึ้นนี้จากทรายขาว Silica ผสมกรดกำมะถัน ที่มีลักษระเป็นเม็ดกลมแข็ง ถ้าเรานำสารกันชื้น หรือซิลิกาเจลนี้มาส่องขยายดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นรูพรุนเล็กๆ เต็มไปหมดบนพื้นผิว รูพรุนเหล่านี้เป็นลักษณะของเม็ดทรายทั่วไป เมื่อรวมกับกรดกำมะถันที่มีคุณสมบัติดูดน้ำได้ดี จึงทำให้สารกันชื้น หรือซิลิกาเจลสามารถดูดน้ำไปเก็บกักไว้ ในรูพรุนของมันได้มากถึง 35-40% ของน้ำหนักมันเอง พูดง่ายๆ คือถ้าเราเทน้ำ 40 มิลลิลิตร หรือ 8 ช้อนชา ลงบนซิลิกาเจลที่มีน้ำหนัก 1 ขีด น้ำจะถูกดูดเข้าไปทั้งหมดจนแห้งเหือด

ข้อดีของสารกันชื้น

  • 1. ช่วยดูดซับความชื้นและออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์ ทำให้อาหารคงอายุอยู่ได้นานหลายเท่า และมีความสดใหม่
  • 2. ป้องกันการละลาย หรือจับตัวกันของอาหารผงทุกชนิด เช่น กาแฟ โอวัลติน

  • 3. ใช้ได้กับยาเม็ด และ วิตามินทุกชนิด
  • 4. ป้องกันเชื้อรา และ แบคทีเรียในอาหารแห้งทุกชนิด

  • 5. ผลิตจากธรรมชาติ ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี ปลอดภัย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส
  • 6. ช่วยป้องกันความเสียหายของวัสดุ และหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพของสินค้า
  • 7. ช่วยลดกลิ่นเหม็นอันไม่พึ่งประสงค์ เช่นกลิ่นอับ หรือกลิ่นความชื้น
  • 8. ช่วยป้องกันการเน่าเสียของคุณภาพสินค้า

** สารกันชื้น หรือ ซิลิกาเจล ถึงแม้จะผลิตจากธรรมชาติ แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่อันตรายต่อร่างกาย ทั้งจากการกินและการสัมผัสเม็ดโดยตรง ตามกฏหมายอาหารแล้ว จะไม่อนุญาตให้มีการผสมลงไปในอาหารโดยตรงเด็ดขาด แต่จะให้แยกใส่ซองเล็กๆ ไว้ในภาชนะบรรจุปิดสนิท หรือให้ผสมลงในเนื้อพลาสติกที่ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารได้

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : คลังความรู้ SciMath /maanow /เกษตรปลอดสารพิษ แบบพอเพียง /เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค

สนใจสินค้า หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี้ >> สารดูดความชื้น


ติดตามข่าวสาร หรือ โปรโมชั่นเพิ่มเติมที่นี้ Facebook : PackingDD

BACK TO TOP
x