ฟู้ดเกรด (Food Grade) คืออะไร ? ทำไมถึงสำคัญต่ออาหารและยา ! ฟู้ดเกรด (Food Grade) คืออะไร ? ทำไมถึงสำคัญต่ออาหารและยา ! – PackingDD Shop

ฟู้ดเกรด (Food Grade) คืออะไร ? ทำไมถึงสำคัญต่ออาหารและยา !

by Kate Kate on November 07, 2020

บรรจุภัณฑ์ในท้องตลาดปัจจุบันต่างมีความหลากหลายทั้งในรูปลักษณ์ และวัสดุที่ใช้ในการผลิต เช่น พลาสติก กระดาษ ไม้ และอื่นๆ ซึ่งวัสดุการผลิตที่ยกตัวอย่างมานี้ พลาสติก ถือเป็นวัสดุที่เราต้องตั้งคำถามอยู่บ่อยครั้งว่า พลาสติกเหล่านี้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริงหรือเปล่า ? เพราะพลาสติกต่างถูกนำมาแปรรูปอย่างหลากหลาก และถูกใช้ในวัตถุประสงค์ที่ใช้แตกต่างกันไป จึงทำให้ ฟู้ดเกรดหรือเกรดอาหาร (Food Grade) เข้ามามีบทบาทความสำคัญ ในการช่วยบ่งบอกว่า วัสดุที่มีคำว่า ฟู้ดเกรด (Food Grade) นี้ถือว่าความสะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภคแน่นอน

หรือถ้าอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆก็คือฟู้ดเกรด (Food Grade) จะได้รับมาตราฐานที่รับรองว่าสิ่งนั้นๆ สามารถใช้กับการผลิตหรือสัมผัสกับอาหารได้ โดยตามปริมาณที่กฏหมายกำหนด ในสายการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอางค์ ก็ได้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นฟู้ดเกรดตามมาตรฐานหรือกฏหมายกำหนด ทั้งนี้ก็เพื่อผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายนั้นเอง

และฟู้ดเกรด (Food Grade) โดยทั่วไปจะใช้ในการบงบอก อธิบายเครื่องมืออุปกรณ์และ อุปกรณ์ที่มีคุณภาพเพียงพอ ที่จะใช้สำหรับการผลิตอาหาร การจัดเก็บอาหาร หรือเพื่อเตรียมอาหาร ซึ่ง ฟู้ดเกรด (Food Grade) มีความสำคัญด้านความปลอดภัยในทางปฏิบัติในหลายอุตสาหกรรม ที่จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัย วางใจและยกระดับของสินค้าให้ก้าวสู้ระดับที่สูงขึ้น ทั้งยังตอบสนองลักษณะทางความนิยมทางสังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ชนิดของพลาสติกที่นิยมนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ฟู้ดเกรด (Food Grade)

1. PP : POLYPROPYLENE พอลิโพรไพลีน (polypropylene)

พลาสติกที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร มีความแข็งและเหนียว คงรูปดี ทนต่อการหักงอได้ ทนต่อความร้อนและสารเคมี มีความใส ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี แต่ป้องกันการผ่านของอากาศได้ต่ำ และไม่ทนต่อความเย็น มักใช้ในการผลิตถุงทนร้อน ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารในครัวเรือน เช่น จาม ชาม ถ้วย

2. HDPE : High Density Polyethylene พลาสติกพอลิเอทิลีน (polyethylene, PE)

นิยมนำมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ พลาสติกมีความแข็งแรง ความใสไม่มากนัก แสงผ่านได้น้อย สามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรด และด่าง เพราะไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีความเหนียว ยืดหยุ่น ทนทานต่อการแตกหรือหักงอได้ดี ป้องกันการผ่านของอากาศได้ต่ำ จึงไม่เหมาะสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ใช้การอัดอากาศ ป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้สูงมาก ทนความร้อนได้เล็กน้อย

3. LDPE : Low density polyethylene พลาสติกพอลิเอทิลีน (polyethylene) หรือถุงเย็น

พลาสติกที่ไม่ทนความร้อน นิ่ม ยืดหยุ่นได้ดี ทนต่อการทิ่มทะลุ และการฉีกขาด เหนียว ไม่กรอบแตกง่าย แต่ความแข็งและทนทานน้อยกว่า HDPE โปร่งแสง มีความใสน้อยกว่า PP แต่ใสกว่า HDPE ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี ทนต่อกรดและด่าง ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี ออกซิเจนและอากาศซึมผ่านได้ ไขมันซึมผ่านได้ นิยมนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารเช่น ถุงเย็น ฟิล์มหดและฟิล์มยืด ขวดน้ำ ฝาขวด ใช้ผลิตแผ่นฟิล์มที่ใช้รวมกับวัสดุอื่น เป็นวัสดุประสาน (laminate) เพื่อปิดผนึกด้วยความร้อน และใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อ (aseptic packaging)

4. PET : Polyethylene Terephthalate เป็นสารพอลิเมอร์ สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิต PET

นั้นได้จากอุตสาหกรรมน้ำมัน ทั้งนี้ความบริสุทธิ์ของสารตั้งต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก และมีผลต่อคุณภาพของ PET โดยเฉพาะเมื่อใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร มีความเหนียว ทนทาน มีความยืดหยุ่นต่อแรงกระทบกระแทก จึงไม่แตกเมื่อถูกแรงกดดัน ในเบื้องต้น PET ได้รับการคิดค้นขึ้นมาเพื่อการบรรจุน้ำอัดลม โดยเฉพาะสมบัติเด่นทางด้านความใสแวววับเป็นประกาย

ได้รับความนิยมในการบรรจุน้ำมันพืชและน้ำดื่ม PET ในรูปแบบฟิล์มมีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้เป็นอย่างดี จึงมีการนำไปเคลือบเพื่อทำเป็นซองสำหรับบรรจุอาหารที่มีความไวต่อก๊าซ เช่น ขนมขบเคี้ยว นอกจากนี้ยังนิยมใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแช่เยือกแข็ง บรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ อาหารปรุงสุกสำหรับอุ่นแบบต้มทั้งถุง

 

 

ขอบคุณแหล่งที่มา : ryt9, doubleapaper, modernsurvivalblog

สนใจสินค้า หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี้

ติดตามข่าวสาร หรือ โปรโมชั่นเพิ่มเติมที่นี้ Facebook : PackingDD

BACK TO TOP
x