.
.
ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation) ตามความเข้าใจง่ายนั้นๆ คือ มีการเกิดปฏิกิริยาจากออกซิเจนในถุงบรรจุภัณฑ์ จึงทำให้ผู้ผลิตหลายเจ้าเลือกใช้ก๊าซไนโตรเจน ในการช่วยไล่ออกซิเจนคงค้างภายในบรรจุภัณฑ์ออกไป เพื่อไม่ให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับอาหาร ที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน หรือไขมัน เพราะเมื่อมีการเกิดปฏิกิริยาขึ้นดังกล่าว จะทำให้อาหารเกิดกลิ่นเหม็นหืน เกิดการเปลี่ยนแปลงของสี กลิ่นรสของอาหาร และสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการได้
ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation) ความหมายทางวิทยาศาสตร์ คือ ปฏิกิริยาที่โมเลกุลหรืออะตอม มีการสูญเสียอิเล็กตรอนจากวงโคจรให้กับโมเลกุล ที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอน ปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน (reduction) จะเกิดคู่กัน สารที่ทำหน้าที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน เรียกว่า ตัวรีดิวซ์ (reducing agent) และเรียกสารที่ทำหน้าที่รับอิเล็กตรอนนี้ว่า ตัวออกซิไดส์ (oxidizing agent) โดยปฏิกิริยาออกซิเดชัน มักจะเกี่ยวข้องกับออกซิเจน
สรุปภาษาวิทยาศาสตร์ง่ายๆ คือ ออกซิเดชั่น ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารได้รับธาตุออกซิเจนมารวมตัวด้วย หรือทำให้สารสูญเสียธาตุไฮโดรเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้อะตอมของธาตุสูญเสียอิเล็กตรอนไป.
แนะนำวิธีการช่วยลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation)
- เลือกประเภทของน้ำมัน ที่ใช้ปรุงอาหาร ให้มีความอิ่มตัว
- เก็บอาหารที่จะใช้สำหรับบรรจุ ไว้ในที่อุณภูมิต่ำไม่ร้อนหรือมีแสงแดด
- ไม่วางอาหาร หรือบรรจุภัณฑ์ ไว้ใกล้เตาหรือที่มีอุณหภูมิสูง
- ไม่ควรพักอาหารที่จะใช้บรรจุสินค้า ไว้เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้โดนออซิเจนมากเกินไป
- เลือกใช้บรรจุภัณฑ์สินค้า ที่มิดชิดทึบ ไม่ให้โดนแสงหรือแสงแดด และไม่ให้อากาศเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ได้
- เลือกบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดพอดีกับสินค้า เพื่อลดพื้นที่ของอากาศกรณีไม่ได้อัดก๊าซไนโตรเจน
- ใส่ซองกันชื้น หรือ ใส่ซองดูดออกซิเจน (Oxygen Absorber) ในถุงบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยรักษาคุณภาพของอาหาร
- สินค้าประเภทอาหารทอด ควรมีสภาพคล่องในการขาย ไม่ควรค้างสต็อกเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดกลิ่นได้