ไม่มีสินค้าในตะกร้า
ฟิล์มหด และ ฟิล์มยืด ถือเป็น ฟิล์ม ที่เราสามารถเห็นในชีวิตประจำวันได้ เช่น ฟิล์มที่ห่อฝาขวดน้ำ ,ขวดครีม ,ฝาครีม,ถ้วยบะหมี่ คือฟิล์มหด ส่วนพลาสติกที่ห่อผัก ผลไม้ เนื้อในแพ็ค นั้นคือฟิล์มยืด ซึ่งฟิล์มทั้ง 2 ชนิดนี้ มีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน คือ
ฟิล์มแบบหด จะเน้นไปที่การจัดระเบียบ และรักษาความปลอดภัยให้กับตัวสินค้าชิ้นกลางๆ ไม่สามารถนำมาใช้ใดๆ ในครัวได้เหมือนกับฟิล์มยืด เพราะขั้นตอนการทำ ต้องมีการใช้เครื่องเป่าลมร้อนเข้ามาเป็นตัวช่วย
ส่วนฟิล์มแบบยืด จะได้รับความนิยมในการใช้จัดเก็บสิ่งของขนาดเล็ก เช่น ผัก ผลไม้ แก้ว ส่วนสิ่งของขนาดใหญ่ก็สามารถใช้ได้ เช่น ห่อหุ้มสินค้าขนาดใหญ่ในการขนส่ง และฟิล์มยืดใช้งานง่ายกว่าฟิลม์หด ไม่ต้องใช้ความร้อนช่วยเหมือนฟิล์มหด เพียงแค่พันทับกับสิ่งของที่ต้องการก็ใช้งานได้ทันที
ฟิล์มหด Shrink Film
ฟิล์ม ชนิดนี้จะหดตัวเมื่อได้รับความร้อน ซึ่งอาจจะเป็นความร้อนจากกระบวนการผลิต หรือความร้อนจากลมร้อน ฟิล์มหดส่วนใหญ่ทำจากพลาสติกประเภท พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride-PVC) หรือพอลิเอทธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density-LDPE)
วิธีการที่ทำให้ฟิล์มยึดเกาะกับตัวสินค้า คือ การใช้ลมร้อนในการเป่าให้พลาสติกหดตัวลงแล้วห่อหุ้มกับตัวสินค้าได้พอดี จึงทำให้สินค้านั้นๆ ไม่หลุดออกจากกัน เมื่อโดนความร้อนแล้วก็จะกลายเป็นการหดตัวลงจนเข้ากับรูปร่างของสินค้าได้อย่างพอเหมาะ การใช้งานฟิล์มหด
สิ่งต้องคำนึงถึงคุณสมบัติฟิล์มหด คือ ความหนา ความเหนียว ความแข็งแรงของรอยซีล ความใส อุณหภูมิ และระยะเวลาของความร้อนให้เหมาะสมกับฟิล์มนั้นๆด้วย เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาการแตกขาดของเนื้อฟิล์มหรือการยับ ซึ่งทำให้สินค้าที่ถูกห่อหุ้มอยู่ดูไม่สวยงาม
ฟิล์มยืด Stretch Cling Film
ฟิล์ม พลาสติกประเภทมีคุณสมบัติเฉพาะคือ ความเหนียว และสามารถยืดตัวได้สูง โดยฟิล์มชนิดนี้จะสามารถเกาะติดกันเองได้ เมื่อดึงฟิล์มให้ตึงหรือยืดฟิล์มออกเล็กน้อย ฟิล์มจะมีลักษณะคล้ายมีกาวบางๆอยู่ด้านใน ทำให้สะดวกในการใช้ห่อหรือรัดสินค้า และเนื่องจากฟิล์มประเภทนี้ไม่มีความร้อนมาเกี่ยวข้อง ในการใช้งานเหมือนฟิล์มหด จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ การห่อสินค้าสด เช่น ผักหรือผลไม้ ในปัจจุบันเม็ดพลาสติก ที่นิยมนำมาผลิตเป็นฟิล์มยืดได้แก่ พอลิเอทธิลีน (Polyethylene-PE) , พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride-PVC) และพอลิโพรพิลีน (Polypropylenee-PP)
สิ่งต้องคำนึงถึงคุณสมบัติฟิล์มยืด คือ ความสามารถในการยืดตัว แรงยืด ความยืดหยุ่นของฟิล์ม ความเหนียวเมื่อพันกันจะไม่ทิ้งคราบเหนียวไว้ การต้านทานแรงดึง รวมไปถึงอัตราการซึมผ่านของไอน้ำและอากาศ ช่วยลดการสูญเสียความชุ่มชื้นในวัตถุดิบที่มีความสดให้ช้าลง ทนต่อสภาวะอากาศที่ไม่ว่าจะร้อนหรือเย็นได้เป็นอย่างดี ช่วยลดแรงกระแทก หากพันฟิล์มหลายๆชั้น
ขอบคุณแหล่งที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยม , watanabhand
สนใจสั่งซื้อสินค้า หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี้ >>> www.packingdd.com
ติดตามข่าวสาร หรือ โปรโมชั่นเพิ่มเติมที่นี้ Facebook : PackingDD