.
.
ถุงป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ ใช้สำหรับบรรจุ หรือหีบห่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการจัดส่งสินค้าหรือ ใช้เพื่อเก็บรักษาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น พวกแผงวงจรต่างๆ ผงสารเคมี เซมิคอนดักเตอร์ หรือ อุปกรณ์ที่มีความว่องไวต่อประจุไฟฟ้าสถิต วัสดุที่นิยมนำมาผลิตคือ เนื้อ LDPE, HDPE, APET, CPP ใส่สาร Anti-Static 2% หรือบ้างโรงงานอาจใส่สีเพิ่ม ซึ่งถุงป้องกันไฟฟ้าสถิตย์มีลักษณะผิวที่มันเยิ้ม เหมือนเคลือบเงา และดูมีความหนาเป็นพิเศษ แต่โดยปกติแล้วจะผลิตความหนาที่ 50-160 ไมครอน แล้วแต่ชนิดของการใช้งาน
ความต้านทานพื้นผิวของถุงป้องกันไฟฟ้าสถิตย์
ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต จะมีความต้านทานพื้นผิวอยู่ที่ระหว่าง 10 ยกกำลัง 9 ถึง 10 ยกกำลัง 11 โอห์ม (ohm per square) ให้ลักษณะของการเป็นกึ่งตัวนำจากการเคลือบผิวพลาสติกด้วยไขมันกรีเซอรอล ซึ่งหลักการของ ถุงป้องกันไฟฟ้าสถิตลักษณะนี้ จะเป็นการป้องกันไฟฟ้าสถิตชั่วคราว มีอายุการใช้งานหลังจากเริ่มบรรจุสินค้าประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี และสามารถหลุดลอกออกได้โดยการเสียดสีหรือสารทำละลายไขมัน
คุณสมบัติและประโยชน์ของถุงป้องกันไฟฟ้าสถิตย์
- นิยมนำไปบรรจุ พวกแผงวงจรต่างๆ ผงสารเคมี เซมิคอนดักเตอร์ หรือ อุปกรณ์ที่มีความว่องไวต่อประจุไฟฟ้าสถิต
- วัสดุที่ใช้ในการผลิตคือ เนื้อ LDPE, HDPE, APET, CPP ใส่สาร Anti-Static 2%
- ใช้เพื่อป้องกันความเสียหายจากการเกิดไฟฟ้าสถิตย์และลดประจุไฟฟ้าสถิต ที่เกิดจากการเสียดสีกัน
- มีค่าความต้านทานผิวและค่าประจุไฟฟ้าสถิตที่ต่ำ
- ถุงจะมีความโปร่งใส ง่ายต่อการสังเกตสินค้าภายในถุง หรือสะดวกต่อการหยิบใช้งาน
- ถุงมีน้ำหนักเบาจึงไม่เพิ่มน้ำหนักในการบรรจุสินค้า
- ความหนาของถุง เริ่มต้นที่ 50-160 ไมครอน
- ช่วยป้องกันสิ่งสกปรกและความชื้นได้
- มีความคงทน แข็งแรง และไม่เกิดรอยรั่วได้ง่าย
- สามารถซีลได้ด้วยความร้อน
และทางร้านแพ็คกิ้งดีดี PackingDD มีจำหน่ายถุงป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ 2 ชนิดคือ ถุงแบบซีลสามด้าน และถุงซิปล็อคก้นแบน
สนใจสั่งซื้อสินค้า หรือดูขนาดสินค้า คลิก vvv